หลายคนมองว่ามีสิวขึ้นที่บริเวณหูเป็นเรื่องแปลก แต่จริง ๆ แล้วเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากผิวหนังบริเวณหูตรงรูขุมขนเกิดการอุดตัน เนื่องจากการสะสมของไขมันและเหงื่อในร่างกาย หรือเกิดจากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เกิดเป็นตุ่มหนองของ สิวที่หู ที่มีอาการอักเสบและบวมแดง
หากมีสิวเกิดขึ้นที่บริเวณหู อาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บได้ง่าย เนื่องจากที่บริเวณใบหูและช่องหูเป็นส่วนของร่างกายที่ไม่ค่อยมีไขมันปกคลุม สิวที่หู ยังยากต่อการเข้าถึงเพื่อจำกัดด้วย
ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงปัญหาของการเกิดสิวที่หู รวมทั้งเรียนรู้ถึงวิธีรักษาและวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
สาเหตุที่ทำให้เป็นสิวที่หูได้มีอะไรบ้าง?
สิวที่เกิดขึ้นบริเวณหูมักเป็นสิวหัวดำที่เกิดจากรูขุมขนอุดตัน จากน้ำมันของร่างกายที่สร้างโดยต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เหงื่อ และเซลล์ผิวที่ตายแล้วที่ผลัดตัวเพื่อเซลล์ผิวใหม่ ขี้หูยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ปิดกั้นรูขุมขน เกิดเป็นสิวอุดตันขึ้น โดยสารภายในรูขุมขนอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อของแบคทีเรียจนเกิดเป็นสิวอักเสบได้ในที่สุด
ประเภทของสิวที่หูมีอะไรบ้าง?
สิวมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งบางประเภทชอบขึ้นที่บริเวณใบหูด้านนอกหรือช่องหู และบางชนิดมักขึ้นบริเวณขอบใบหู มาดูกันว่าหากเป็น สิวที่หู สามารถเป็นสิวประเภทใดได้บ้าง และสิวแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
สิวหัวขาว
สิวหัวขาวเป็นสิวอุดตันแบบหัวปิดที่เกิดขึ้นจากรูขุมขนที่อุดตันจากสิ่งที่อยู่ใต้ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มสีขาวขนาดเล็กที่ไม่มีอาการอักเสบ อย่างไรก็ตาม หากเกิดการติดเชื้อที่บริเวณรูขุมขนดังกล่าวก็สามารถเกิดอาการอักเสบได้ในภายหลัง
สิวหัวดำ
สิวหัวดำเป็นสิวแบบหัวเปิด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนที่อุดตันสัมผัสกับอากาศจนเกิดการออกซิไดซ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้บริเวณหัวสิวมีสีดำ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความสกปรก
เช่นเดียวกันกับสิวหัวขาว หากเกิดการติดเชื้อที่บริเวณรูขุมขนดังกล่าวก็สามารถเกิดอาการอักเสบได้ หากการอุดตันของสิวขยายไปถึงส่วนของใยไขผิวหนังสะสม (sebaceous filaments) ทำให้เกิดการขยายตัวจนสามารถเอาออกได้ยาก
สิวไตและซีสต์
บางครั้งสิวที่หูเกิดขึ้นที่บริเวณของเนื้อเยื้อที่ลึกและเกิดเป็นสิวไตและซีสต์ได้ ซึ่งอาจเกิดเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่ได้ในภายหลัง โดยสิวไตเป็นสิวที่ค่อนข้างอันตรายเพราะทำให้รู้สึกเจ็บและสามารถจำกัดออกได้ยาก เช่นเดียวกับสิวในรูปแบบของซีสต์ที่เกิดขึ้นใต้เนื้อเยื่อลึกที่ทำให้รู้สึกเจ็บ ซึ่งจะมีขนาดที่เล็กกว่าและนิ่มกว่าสิวไต
หรือบางครั้งก็เป็นสิวที่มีคุณลักษณะของทั้งสิวไตและซีสต์ร่วมกันที่เรียกว่าสิวหัวช้างได้ด้วย โดยหากเป็นสิวที่หูประเภทนี้ จะมักเกิดที่บริเวณติ่งหูหรือบางครั้งก็เป็นบริเวณของช่องหูได้
บีบสิวที่หูออกเองดีไหม?
คุณไม่ควรบีบสิวที่หูด้วยตัวเอง แต่ให้มันรักษาตัวเองดีกว่า เนื่องจากสิวที่หูโดยเฉพาะในบริเวณช่องหูสามารถเข้าถึงได้ยาก ทำให้อาจเป็นการทำลายบริเวณช่องหูได้ง่ายหากพยายามใช้นิ้วมือหรือเครื่องมือดันเข้าไป
หากบีบสิวที่หูแล้วเกิดเข้าไปภายในช่องหูแล้ว อาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่หูซึ่งเป็นอันตรายได้ การบีบสิวด้วยตัวเองที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้หนองกลับเข้าไปในเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกและเป็นสาเหตุของการเกิดฝีได้ การใช้เครื่องมือดันเข้าไปใรช่องหู เป็นการทำลายผิวหรือเสี่ยงต่อการเจาะแก้วหูได้อีกด้วย
วิธีรักษาสิวหากเป็นสิวที่หูที่ปลอดภัยและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
ประคบร้อน
ทำการประคบร้อนที่บริเวณหูจะช่วยเปิดรูขุมขนและทำให้ส่วนที่อุดตันนิ่มขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยให้สิ่งที่อุดตันอยู่ใต้ผิวหนังออกมาได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำสำหรับประคบร้อนที่มีอุณหภูมิที่สูงจนเกินไป
ใช้ยาทารักษาสิวที่หูที่มีส่วนผสมของเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์
เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและผลัดเซลล์ผิวเก่าออกไปได้ อย่างไรก็ตาม การใช้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ผิวมีความแห้งกร้าน เกิดเป็นรอยแดง หรือลอกเป็นขุยได้
ใช้ทีทรีออยล์
ทีทรีออยล์มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย P. acnes และอาการอักเสบ ทำให้สิวและสิ่งที่อุดตันอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม การใช้งานก็สามารถส่งผลข้างเคียงได้เช่นกัน เช่น แสบ ร้อนแดง และคัน
แต่หากใครมีอาการแพ้ง่ายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากสารธรรมชาติ แนะนำให้ใช้ตัวยาแบบอ่อน หรือปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อให้ช่วยหาตัวยาที่เหมาะสม
ใช้ครีมเรตินอยด์
ครีมเรตินอยด์มีส่วนผสมของวิตามิน A ที่ช่วยให้ละลายเลเยอร์ผิวบริเวณสิวที่เรียกว่า stratum corneum ออกได้ แต่สามารถส่งผลให้ผิวมีความไวต่อแสงแดด ทำให้ผิวบริเวณนั้นควรมีการทาครีมกันแดดก่อนออกไปเผชิญกับแดดด้านนอกด้วย
หากเป็นสิวที่หู ไม่แนะนำให้บีบสิวออกด้วยตัวเอง แต่สามารถใช้วิธีแก้ไขเหล่านี้แทนได้ หากลองวิธีเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล หรือเป็นสิวที่เข้าถึงได้ยาก ควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะแพทย์ผิวหนังเพื่อให้ช่วยรักษาอย่างถูกวิธีในขั้นตอนต่อ ๆ ไป