สิวที่จมูก ข้างจมูก เกิดจากอะไร บีบเองได้ไหม?

สิวที่จมูก ข้างจมูก เกิดจากอะไร บีบเองได้ไหม?

โดยปกติสิวที่จมูกและสิวบนส่วนอื่นๆ ของใบหน้ามักเกิดจากการที่น้ำมันหรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วเกิดการอุดตันที่บริเวณรูขุมขนจนทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง เกิดเป็นจุดสิวขึ้นมา หรือบางคนก็อาจเป็นสิวที่จมูก หรือสิวข้างจมูกที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้เช่นกัน

สิวที่จมูกเกิดจากอะไร?

สิวที่จมูกและสิวข้างจมูกเป็นอีกจุกที่พบบ่อยเนื่องจากรูขุมขนบริเวณนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ทำให้เกิดการอุดตันได้ง่ายกว่า ทำให้มีโอกาสเกิดสิวอุดตันและหากมีเชื้อแบคทีเรีย P.acne ก็จะทำให้เกิดเป็นสิวอักเสบขึ้นที่จมูก ซึ่งหากคนที่มีการอุดตันเยอะแต่ไม่มีอาการอักเสบก็จะมีลักษณะสิวเสี้ยนเยอะตรงจมูก

อีกสาเหตุของการเกิดสิวที่จมูกจะมาจากการสัมผัสเหมือนสิวขึ้นคางบางครั้งก็มาจากการสัมผัสเหมือนกัน เช่น มีพฤติกรรมชอบเท้าค้าง ชอบบี้จมูก ชอบเอาหน้าไปซุกผ้าหรือหมอนที่ไม่สะอาด

แต่บางคนอาจมีสิวบนจมูกหรือสิวข้างจมูกเป็นลักษณผื่นแดงๆ ไม่อัปเสบ แต่ไม่เหมือนเม็ดเล็กๆ แดงๆ เต็มไปหมด ซึ่งอาการแบบนี้อาจไม่ใช่สิวก็ได้ แล้วมันคืออะไร? ไปลองหาคำตอบกัน

ประเภทของสิวที่จมูกและสิวข้างจมูก

อาการทางผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นที่จมูกและส่วนอื่นๆ ของใบหน้ามี 2 ลักษณะ

  1. อาการอักเสบของรูขุมขน (Acne vulgaris) เกิดจากการที่รูขุมขนอุดตันและเกิดไปสิว ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นทั้ง 6 ประเภทของสิว
  2. อาการผื่นแดง (Acne rosacea) จะเป็นเหมือนผื่นแดงขึ้นเป็นปื้นๆ อาจเป็นวงๆ มีขนาดเท่าเหรียญบาทหรือใหญ่กว่า เช่นบางคนอาจเป็นทั้งแก้มมาจนถึงข้างจมูกก็ได้
อาการ acne rosacea ผื่นแดงบนหน้า

ซึ่งการรักษาก็จะต่างกันของ 2 ประเภทนี้ โดยเรื่อง Acne rosacea เราจะขอพูดถึงแบบเต็มๆ ในบทความต่อไป

การรักษาสิวที่จมูกสามารถทำได้อย่างไรบ้าง?

  • หลีกเลี่ยงการลูบ แกะ หรือแคะที่บริเวณที่เป็นสิว เพราะจะทำให้เกิดเป็นรอยแพ้หรือติดเชื้อได้ การแกะสิวด้วยตัวเองเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ ซึ่งสามารถเกิดเป็นแผลหรือหลุมสิวได้ในภายหลัง
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่คุณเป็นสิวด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่อ่อนประมาณ 2 ครั้งต่อวัน โดยไม่ล้างหน้าบ่อยจนเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อปรับให้ฮอร์โมนภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างสมดุล
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลผิวที่ไม่ก่อให้เกิดสิวหรือไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน                
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดสิว เช่น เนย ครีม อาหารทอด เค้ก หรือนมวัวที่มีส่วนผสมของไขมัน ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเกิดสิวได้
  • ใช้ยาละลายหัวสิว เช่น เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (benzoyl peroxide)
  • กดสิวผ่านผู้เชี่ยวชาญ 
  • ใช้กรดวิตามินเอหรือกรดผลไม้
  • ใช้ยาปฏิชีวนะแบบทาหากสิวเกิดการอักเสบ
  • ทานยาฮอร์โมนร่วมหากเป็นผู้ที่มีปัญหาผิวมัน
  • ใช้เลเซอร์ ฉีด หรือผลัดเซลล์ผิวเก่า
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วเกิดการอุดตันที่บริเวณรูขุมขน แต่ให้เลือกใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ว่า Noncomedogenic ซึ่งไม่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการอุดตัน
  • กินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบในกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาไอบูโพรเฟนและยานาพรอกเซน โดยต้องระวังเรื่องโรคประจำตัวด้วย
  • ประคบร้อนที่บริเวณที่เป็นสิวเพื่อลดอาการระคายเคืองและอาการปวด ด้วยการใช้ผ้าสะอาดชุปน้ำอุ่นแล้วบิดให้หมาด จากนั้นใช้คบร้อนตรงสิวที่จมูกประมาณ 15-20 นาทีประมาณ 3 ครั้งต่อวัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าสิวที่จมูกจะหาย
  • หากใครใช้ยาทาสิว Differin ให้ระวังพื้นที่ผิวที่บอบบาง เช่น ร่องจมูก

สิวที่จมูกบีบเองได้ไหม?

ส่วนใหญ่แล้ว สิวที่จมูกบริเวณหัวสามารถเปิดออกได้และหลุดเองได้ ทำให้ไม่ควรบีบเองเพราะจะเปลี่ยนจากสิวอุดตันธรรมดาให้กลายเป็นสิวอักเสบได้ และสิวอักเสบสามารถสร้างแผลเป็นหรือหลุมสิวที่จมูกได้ หากต้องการกดสิวเ้วยตัวเอง ควรเรียนรู้วิธีกดสิวที่ถูกต้องก่อน

วิธีการป้องกันไม่ให้สิวขึ้นจมูก

  • รักษาความสะอาดของบริเวณจมูกและใบหน้าอยู่เสมอ รวมไปถึงความสะอาดของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ปลอกหมอน ผ้าเช็ดตัว อุปกรณ์สำหรับแต่งหน้า เป็นต้น
  • ไม่สัมผัสบริเวณจมูกหรือใบหน้า ไม่ขยี้ รวมทั้งไม่แคะบริเวณจมูกบ่อย ๆ
  • หากเป็นคนแพ้ง่าย หรือผิวบอบบาง เลี่ยงการใช้แผ่นลอกสิวเสี้ยนที่จมูก เพราะอาจทำให้แสบคันได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดในการทำความสะอาดหรือบาดคมสำหรับกำจัดขนจมูก
  • จัดการกับภาวะความเครียด เนื่องจากความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลงและอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สิวหายช้าลงได้
แผ่นลอกสิวที่จมูก
แผ่นลอกสิวเสี้ยนที่จมูก

อย่างไรก็ตาม ตุ่มนูนในจมูกสามารถเป็นอย่างอื่นได้ด้วยนอกจากสิว เช่น เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ จนเกิดอาการบวมแดงและปวด ซึ่งต่อมาอาจพัฒนากลายเป็นฝี นอกจากนั้นก็อาจเป็นลักษณะของหูดที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV โดยเป็นตุ่มนูนที่กลม แข็ง มีลักษณะหยาบ มีสีเทา เหลือง ไปจนถึงสีน้ำตาล

หากเป็นสิวที่จมูก มักจะหายไปได้เองภายใน 1-2 อาทิตย์ หากไม่มีการไปแกะหรือแคะที่บริเวณสิว แต่ถ้านานกว่านั้นและมีลักษณะที่ใหญ่หรืออักเสบ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและวิธีการรักษาต่อไป